สรุปความรู้จากการจัดโครงการ KM ปีการศึกษา 2564 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จัดโครงการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2564 (Knowledge Management: KM) ณ ห้องประชุม KM คณะนิเทศศาสตร์ ชั้น 11 อาคารเกษมนครา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ร่มเกล้า/ห้องประชุม MsTeam
ด้านการเรียนการสอน: เรื่อง “การพัฒนาแผนและสื่อการสอนแบบ Active Learning สำหรับการสอนด้านนิเทศศาสตร์ กรณีสอนออนไลน์และออนไซต์” (ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564- วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565)
มีวิทยากรแบ่งปันความรู้คืออาจารย์ที่มีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ ผศ.วิญลี่ รุ่งฤดีสมบัติกิจ ผศ.ดร.ต่อตระกูล อุบลวัตร และอาจารย์ ดร.รจนา พึ่งสุข สรุปความรู้ที่ได้ คือ
1) การเขียนผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLO) ต้องเกาะมคอ.2 ให้แน่นเขียนไว้ยังไงเวลาออกแบบการเรียนการสอนให้เป็นไปตามนั้น และให้เป็นไปตามอัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์คณะด้วย อย่าลืมวางกลยุทธ์การสอน กลยุทธ์การประเมินผลไปด้วย (แต่งตัวให้จัดเต็มและเป็นธีมเดียวกัน)
2) ใช้หลักการ “ถามทวน” ในแต่ละครั้งของการสอน เช่น ให้นศ.สรุปบทเรียนของตนเองทุกสัปดาห์ โดยใช้โปรแกรมไลน์และให้ไปแชตในโน้ตแล้วเก็บเข้าไลน์ส่วนตัว (เพื่อจะรู้ว่านศ.เรียนรู้ได้ผลแค่ไหนยังไง มีอะไรต้องปรับเพิ่มเติมให้นศ.)
3) อย่าลืม ใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การตั้งประเด็นปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เพราะวิชาด้านนิเทศศาสตร์หลายวิชาจำเป็นต้องแทรกตัวอย่างจากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น เพราะนอกจากทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อ สนใจ เรียนรู้ได้เร็วขึ้นแล้วยังเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านบริบททางสังคมที่เกิดขึ้นจริงให้เข้ากับหลักแนวคิด ทฤษฎีที่ต้องการสอนด้วย
4) ให้ความสำคัญกับ “การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้” ด้วยซึ่งมีหลากหลายรูปแบบวิธี และเราเคยจัด KM เรื่องนี้ไปแล้วด้วย ซึ่งมีทั้งการประเมินทางตรง: สอบ ตั้งคำถามในห้อง ให้แสดงความคิดเห็น นำเสนองาน ทำ google form ทำเกณฑ์รูบริกส์ ทำโปรเจก ฯลฯ หรืออาจประเมินทางอ้อมด้วย เช่น สำรวจความพึงพอใจของนศ. ให้นศ.ประเมินความรู้ทักษะตัวเอง แต่การประเมินทางตรงยังไงต้องทำ
5) การออกแบบกิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนทั้งแบบ online และ onsite เขียนในมคอ. 3 ให้เห็นภาพชัดเจนว่าเรามีกระบวนการเรียนการสอน หรือกระบวนการสร้างการเรียนรู้ให้กับนศ.แต่ละขั้นตอนแต่ละหัวข้อที่สอนอย่างไรบ้าง ใช้สื่ออะไร ใช้อย่างไรที่สำคัญต้องใช้สื่อให้เหมาะกับแต่ละหัวข้อที่จะสอน และต้องส่งไฟล์เนื้อหาให้นศ.เรียนรู้เองล่วงหน้า
6) ทำสื่อให้เป็น Edutainment Media: ให้ความสำคัญกับ “สื่อ/กิจกรรมการเรียนการสอน” แม้ว่าสอน onsite ก็สามารถใช้สื่อการสอน online ร่วมด้วยได้ เพราะพฤติกรรมผู้เรียน “ใช้-เล่นโทรศัพท์ตลอดเวลา” การออกแบบการสอนแบบ Active Learning จึงควรใช้สื่อหลากหลายรูปแบบ เอาความเป็นตัวตนผู้เรียน (ชอบอะไร ใช้อะไร) มาจับคู่กับ ความเป็นตัวตน (จุดเด่น) ของวิชา ให้ได้
7) อย่าทิ้งนศ./ผู้เรียนไว้ข้างหลัง: เนื้อหาที่สอนดี เป็นประโยชน์แค่ไหนก็ตาม ถ้า นศ./ผู้เรียน ไม่มีความพร้อมเรื่องนี้ เช่น โทรศัพท์ไม่เอื้อ ใช้ยังไม่คล่อง เรียนรู้ช้า ก็จะทำให้ภาพรวมการสอนแบบ Active Learning ของวิชาเราไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้คุยหรือให้นศ.กรอก “ความพร้อมก่อนเรียน” เพื่อรู้ว่านศ.มีปัญหาด้านอุปกรณ์ และด้านศักยภาพการเรียนรู้ อย่างไรบ้าง
8) เรื่องการสอนแบบ Active Learning พวกเราทำมาตลอดเพราะวิชาเราเอื้อ แต่เพื่อให้ประเด็นเหล่านี้กลายเป็นความรู้ในตนที่เราสามารถนำมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ใช้อย่างเหมาะสมเกิดผลอย่างที่คาดหวังในทุกสถานการณ์การเรียนการสอน และบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป mind set เรื่องนี้เราต้องปรับเปลี่ยนและทำให้ได้
9) แนวคิดเรื่อง Active Learning เป็นเรื่องที่หนีไม่พ้นเพราะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญในการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้น ครูอย่างพวกเราต้องพัฒนาเรื่องนี้ต่อไป เพราะสะท้อนการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน/การศึกษา ทำให้คนที่เรียนกับเรา คนที่ส่งลูกมาเรียนมาเรา หรือสังคมรอบๆ มหาวิทยลัยเรามั่นใจว่าเราเป็นม.เอกชนที่มีการเรียนการสอนมีมาตรฐานมีคุณภาพอย่างที่เขาคาดหวัง (เด็กมีงานทำ ผู้ใช้บัณฑิตhappy)
10) แม้ว่าในอนาคตเราอาจสอนแบบ onsite เป็นหลักแต่ก็พบว่าการสอนแบบ online ในบางวิชา บางหัวข้อก็จะช่วยสนับสนุนให้นศ.เรียนรู้ได้ง่าย/เข้าใจขึ้น ผู้สอนจึงต้องพัฒนาวิธีการเรียนการสอนและมีประสบการณ์การสอนทั้ง 2 แบบด้วย