สาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล

หลักสูตรปริญญาตรี

สาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล

ด้วยปัจจุบันมีสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคม ทำให้ธุรกิจทางด้านวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็ว  มีการขยายช่องทางการสื่อสารในรูปแบบใหม่และหลากหลายมากขึ้น จึงเห็นสมควรปรับปรุงเพื่อผลิตนักวิชาชีพที่ มีความรู้   มีความเข้าใจ  มีคุณธรรม  มีความเท่าทันเทคโนโลยี ความสามารถเผยแพร่ความเป็นไทยไปสู่สังคมในระดับสากล และคาดว่าจะมีผลลัพธ์ต่อนักศึกษามีความรอบรู้ทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ เหตุผลและวิจารณญาณได้อย่างเหมาะสม

สาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล เราจะสอนให้คุณรู้จักทั้งเบื้องหน้า เบื้องหลัง ของการผลิตสื่อ ตั้งแต่เรียนรู้การคิดสร้างสรรค์รายการ เขียนบท การปฏิบัติงานถ่ายทำทั้งในสตูดิโอ และนอกสถานที่ ทำข่าว สารคดี วาไรตี้ เกมส์โชว์ ตัดต่อ กราฟฟิค เทคนิคพิเศษ  ตลอดจนพิธีกร หรือผู้ประกาศ โดยอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ การันตีด้วยผลรางวัลอย่างต่อเนื่อง

 

ชื่อปริญญา

นิเทศศาสตรบัณฑิต (วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล)

Bachelor of Communication Arts (Broadcasting and Digital Media)

 

ปรัชญาและปณิธาน

“ริเริ่ม  สร้างสรรค์  ปฏิบัติอย่างมืออาชีพ สมภาคภูมินักสื่อสารยุคใหม่ ทันสมัยใส่ใจคุณธรรม”

ผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วยวิชาการและชำนาญด้านวิชาชีพที่เป็นนักปฏิบัติเชิงรุกด้านสื่อวิทยุ  โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล สามารถนำความรู้ความชำนาญไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อพัฒนาตนเองและสังคมอย่างต่อเนื่อง ถูกต้องและเหมาะสม มุ่งสู่การเป็นนักวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 โดยคำนึงถึงจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเป็นหลัก

 

“ริเริ่ม สร้างสรรค์ ปฏิบัติอย่างมืออาชีพ สมภาคภูมินักสื่อสารยุคใหม่ ทันสมัยใส่ใจคุณธรรม”

 

ชื่อปริญญา

ขื่อเต็ม นิเทศศาสตรบัณฑิต  (วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล)

Bachelor  of Communication  Arts  (Broadcasting and Digital Media)

ชื่อย่อ นศ.บ. (วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล)

ฺB.A. Com.Arts (Broadcasting and Digital Media)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

หลักสูตรได้ออกแบบไว้เพื่อนักศึกษาสามารถทำงานในสายวิชาชีพวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลได้ เช่น

》ฝ่ายวางแผนในกระบวนการก่อนการผลิต เช่น ผู้ผลิตรายการ  ผู้กำกับรายการ  ผู้ช่วยผู้กำกับรายการ

ผู้เขียนบท  ผู้ประสานงาน ผู้ดำเนินรายการ พิธีกร ผู้ประกาศ  และผู้สื่อข่าว

》ฝ่ายการผลิต เช่น  ฝ่ายศิลปกรรม ฝ่ายภาพ  ฝ่ายเสียง  ฝ่ายแสง และฝ่ายสนับสนุนการถ่ายทำ

》ฝ่ายหลังการผลิต เช่น ฝ่ายตัดต่อภาพ  ฝ่ายสร้างสรรค์เสียง  และฝ่ายสร้างสรรค์เทคนิคพิเศษ